Categories:

คำถามที่พบบ่อย – ทะเบียนพาณิชย์

เมื่อจดทะเบียนเสร็จแล้ว ผู้ประกอบการพาณิชยกิจควรปฏิบัติอย่างไร?

     ตอบ  :  เมื่อจดทะเบียนแล้ว ต้องจัดให้มีป้ายชื่อที่ใช้ในการประกอบพาณิชยกิจ ตามที่ได้จดทะเบียนไว้ที่หน้าสำนักงานแห่งใหญ่ โดยเปิดเผยภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้จดทะเบียน และสำนักงานสาขา ทุกแห่ง จะต้องใช้ชื่อและจัดให้มีป้าย เช่นเดียวกับสำนักงานใหญ่ และต้องมีคำว่า “สาขา” ด้วย 2. เมื่อรับใบทะเบียนพาณิชย์แล้ว จะต้องแสดงในทะเบียนพาณิชย์ไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย


ใบสำคัญการจดทะเบียนพาณิชย์จะใช้ได้ตลอดไปหรือไม่?

     ตอบ  :  ใช้ได้ตลอดไป ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงรายการที่จดทะเบียนไว้ หรือไม่ได้เลิกประกอบการค้า


การจดทะเบียนพาณิชย์ ให้บุคคลอื่นมาจดให้ได้หรือไม่?

     ตอบ  :  ได้ แต่ผู้ประกอบพาณิชยกิจจะต้องลงลายมือในคำขอ และนำสำเนาบัตรประชาชนของผู้ประกอบพาณิชยกิจ ซึ่งผู้ประกอบการพาณิชยกิจได้ลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้องแล้ว พร้อมด้วยหนังสือมอบอำนาจ แนบคำขอจดทะเบียนมาด้วย


เมื่อจดทะเบียนเลิกประกอบพาณิชยกิจแล้ว ต่อมาจะเปิดร้านทำการค้าใหม่จะทำได้หรือไม่ ?

     ตอบ  :  ได้ โดยต้องมาจดทะเบียนพาณิชย์ใหม่ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เปิดร้านทำการค้าใหม่


เมื่อเลิกประกอบพาณิชยกิจแล้ว ผู้ประกอบพาณิชยกิจควรทำอย่างไร?

     ตอบ  :  ผู้ประกอบพาณิชยกิจต้องยื่นคำขอจดทะเบียนเลิก ภายในกำหนด 30 วันนับแต่วันที่เลิก โดยนำใบทะเบียนพาณิชย์มาคืนด้วย


ผู้ประกอบการพาณิชยกิจคนเดียวจะมีร้านหลายร้านได้หรือไม่?

     ตอบ  :  ได้


เมื่อย้ายที่ตั้งสำนักงาน เปลี่ยนชื่อร้าน หรือมีการเปลี่ยนแปลงรายการ ตามที่จดทะเบียนไว้จะต้องทำอย่างไร?

     ตอบ  :  เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรายการใดก็ตาม ที่จดทะเบียนไว้ จะต้องยื่นคำขอเปลี่ยนแปลงภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง โดยนำใบสำคัญการจดทะเบียนพาณิชย์ฉบับเดิมมาด้วย


เมื่อใบสำคัญการจดทะเบียนทะเบียนพาณิชย์ชำรุด หรือสูญหายจะทำอย่างไร?

     ตอบ  :  ให้ขอใบแทนใบสำคัญการจดทะเบียนพาณิชย์ โดยนำใบทะเบียนพาณิชย์ที่ชำรุด หรือใบแจ้งความในกรณีที่ใบทะเบียนพาณิชย์สูญหายมาคืนด้วย


การขอจดทะเบียนพาณิชย์ จะต้องนำหลักฐานอะไรไปบ้าง?

     ตอบ  :  การขอจดทะเบียนพาณิชย์ จะต้องนำสำเนาบัตรประชาชนของ ผู้ประกอบพาณิชยกิจและให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้องด้วย

ที่มา : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

Tags:

No responses yet

ใส่ความเห็น