Categories:

ประมวลคำถาม-คำตอบ
เรื่องการกำหนดราคาตลาดของกิจการข้ามชาติ Transfer Princing

  • เอกสารเผยแพร่จะมีการจัดทำเป็นภาษาอังกฤษหรือไม่ ตามคำสั่งกรมสรรพากรเลขที่ ป.113/2545 ขอให้อธิบายคำจำกัดความ “กิจการข้ามชาติ” “Transfer Pricing” “กิจการในกลุ่มเดียวกัน”
  • คำสั่งกรมสรรพากรเลขที่ ป.113/2545ฯ จะมีผลใช้บังคับย้อนหลังก่อนวันที่ 16 พฤษภาคม 2545 หรือไม่
  • ธุรกรรมในลักษณะใด เข้าข่ายอยู่ในบังคับตามสั่ง ป.113/2545
  • บริษัทแม่ส่ง spare part ที่ไม่ใช้แล้วแต่สภาพยังใช้งานได้ให้แก่บริษัทในเครือในประเทศไทยโดยไม่คิดเงิน แต่จะถูกประเมินราคาโดยกรมศุลกากรเรื่องนี้จะเกี่ยวข้องกับสรรพากรอย่างไร
  • การกำหนดราคาซื้อจากบริษัทที่เกี่ยวข้องกันให้เป็นไปตามราคาตลาดที่ยอมรับโดยกรมสรรพากร จะสามารถใช้เป็นหลักฐานในการคำนวณอากรขาเข้าตามกฎหมายศุลกากร ได้หรือไม่ หากไม่ได้ จะมีโอกาสที่2 หน่วยงานมีแนวทางปฏิบัติที่สอดคล้องกันได้หรือไม่ในอนาคต
  • กรณีเจ้าหน้าที่สรรพากรพิจารณาแล้ว สรุปว่า ราคาที่บริษัทใช้ยังต่ำกว่าราคาตลาด จึงประเมินรายได้เพิ่มขึ้น ถามว่า บริษัทในเครือต่างประเทศ จะบันทึกค่าใช้จ่ายเพิ่มจากราคาที่ถูกประเมินเพิ่มขึ้นได้หรือไม่
  • การกำหนดราคาในตลาดที่แข่งขันโดยสมบูรณ์โดยธรรมชาติมีความเป็นไปได้ยากซึ่งต่างจากตลาดผูกขาดนั้น ปัญหาว่ากรมสรรพากรใช้มาตรฐานอะไรในการกำหนดราคา และการกำหนดราคาตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.113/2545 จะเป็นช่องว่างทำให้เจ้าหน้าที่สรรพากรใช้อำนาจต่อรองกับผู้เสียภาษี และจะมีมาตรการป้องกันปัญหาดังกล่าวอย่างไร
  • ทาง LTO มีการจัดเจ้าหน้าที่เพื่อให้คำแนะนำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการ โดยแยกตามประเภทของธุรกิจหรือไม่
  • คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.113/2545 เน้นกิจการข้ามชาติเพราะอะไร จะใช้กับกิจการภายในประเทศ ได้หรือไม่
  • เอกสาร 10 ข้อ บางข้อเป็นความลับของธุรกิจจะรั่วไหลหรือไม่ ใครจะรับผิดชอบ
  • รู้ได้อย่างไรว่าราคาของบริษัทเป็นราคาโอน และราคาตลาดคือเท่าใด เลือกวิธีคำนวณราคาตลาดแล้ว กรมสรพากรจะยอมรับจริงหรือ และควรเลือกวิธีใด เลือกแล้วเปลี่ยนได้หรือไม่
  • รูปแบบของความสัมพันธ์กันในกิจการข้ามชาติเป็นอย่างไร
  • ต้องทำเอกสารเป็นภาษาไทยหรือไม่

คำถาม  :  เอกสารเผยแพร่จะมีการจัดทำเป็นภาษาอังกฤษหรือไม่ ตามคำสั่งกรมสรรพากรเลขที่ ป.113/2545

คำตอบ  :  อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำ


คำถาม  :  คำสั่งกรมสรรพากรเลขที่ ป.113/2545ฯ จะมีผลใช้บังคับย้อนหลังก่อนวันที่ 16 พฤษภาคม 2545 หรือไม่

คำตอบ  :  คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.113/2545 เป็นเพียงแนวปฏิบัติของเจ้าพนักงานสรรพากรในการตรวจและ แนะนำผู้เสียภาษี จึงไม่มีกำหนดเวลาบังคับใช้


คำถาม  :  ขอให้อธิบายคำจำกัดความ “กิจการข้ามชาติ” “Transfer Pricing” “กิจการในกลุ่มเดียวกัน”

คำตอบ  :  “กิจการข้ามชาติ” คือ กลุ่มนิติบุคคลที่มีการจัดตั้งกิจการเพื่อดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศและมีผลประโยชน์ร่วมกัน โดยมีความสัมพันธ์กันในลักษณะการเป็นเจ้าของ การถือหุ้น การควบคุม หรือจัดการ ในบริษัทที่เป็นสาขา บริษัทในเครือ หรือบริษัทที่เป็นตัวแทนโดยสำนักงานใหญ่หรือบริษัทแม่

“Transfer Pricing” คือ การที่คู่สัญญาทำธุรกรรมระหว่างกัน โดยอาจมีการกำหนดราคาซื้อ-ขายสินค้าหรือให้บริการที่แตกต่างไปจากราคาตลาด (Arm’s Length Price)

“กิจการในกลุ่มเดียวกัน” คือ กิจการในกลุ่มบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์ระหว่างกัน ในการจัดการ การควบคุมหรือร่วมทุน โดยทางตรงหรือ โดยทางอ้อม เช่น บริษัทในเครือ


คำถาม  :  ธุรกรรมในลักษณะใด เข้าข่ายอยู่ในบังคับตามสั่ง ป.113/2545

คำตอบ  :  ธุรกรรมลักษณะใดๆ ที่กระทำกับคู่สัญญาของตน โดยไม่มีรายได้ตอบแทนหรือมีรายได้ตอบแทนต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ตามความข้อ2 วรรคแรก คำสั่งฯ ป.113/2545


คำถาม  :  บริษัทแม่ส่ง spare part ที่ไม่ใช้แล้วแต่สภาพยังใช้งานได้ให้แก่บริษัทในเครือในประเทศไทยโดยไม่คิดเงิน แต่จะถูกประเมินราคาโดยกรมศุลกากรเรื่องนี้จะเกี่ยวข้องกับสรรพากรอย่างไร

คำตอบ  :  ราคาประเมินของกรมศุลกากรใเป็นหลักฐานในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม


คำถาม  :  การกำหนดราคาซื้อจากบริษัทที่เกี่ยวข้องกันให้เป็นไปตามราคาตลาดที่ยอมรับโดยกรมสรรพากร จะสามารถใช้เป็นหลักฐานในการคำนวณอากรขาเข้าตามกฎหมายศุลกากร ได้หรือไม่ หากไม่ได้ จะมีโอกาสที่2 หน่วยงานมีแนวทางปฏิบัติที่สอดคล้องกันได้หรือไม่ในอนาคต

คำตอบ  :  เป็นการบังคับใช้กฎหมายคนละฉบับ


คำถาม  :  กรณีเจ้าหน้าที่สรรพากรพิจารณาแล้ว สรุปว่า ราคาที่บริษัทใช้ยังต่ำกว่าราคาตลาด จึงประเมินรายได้เพิ่มขึ้น ถามว่า บริษัทในเครือต่างประเทศ จะบันทึกค่าใช้จ่ายเพิ่มจากราคาที่ถูกประเมินเพิ่มขึ้นได้หรือไม่

คำตอบ  :  หลักการคำนวณราคาตลาดตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.113/2545 เป็นวิธีการที่ยอมรับตามหลักสากลบริษัทในเครือต่างประเทศจะบันทึกค่าใช้จ่ายเพิ่มได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับกฎหมายการจัดเก็บภาษีของประเทศนั้นๆ


คำถาม  :  การกำหนดราคาในตลาดที่แข่งขันโดยสมบูรณ์โดยธรรมชาติมีความเป็นไปได้ยากซึ่งต่างจากตลาดผูกขาดนั้น ปัญหาว่ากรมสรรพากรใช้มาตรฐานอะไรในการกำหนดราคา และการกำหนดราคาตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.113/2545 จะเป็นช่องว่างทำให้เจ้าหน้าที่สรรพากรใช้อำนาจต่อรองกับผู้เสียภาษี และจะมีมาตรการป้องกันปัญหาดังกล่าวอย่างไร

คำตอบ  :  กรมสรรพากรได้กำหนดวิธีคำนวณเพื่อให้ได้มาซึ่งราคาตลาดไว้ตามข้อ 3 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.113/2545 เป็นวิธีคำนวณตามหลักการของ OECD – Organization for Economic Cooperation and Development ซึ่งได้รับการรับรองโดยสากลและนานาประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เป็นต้น นำมาใช้ ทั้งนี้ การที่ออกคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.113/2545 ทำให้เจ้าหน้าที่สรรพากรและผู้เสียภาษีใรวิธีการคำนวณหาราคาตลาดที่ถูกต้อง ชัดเจน และเป็นแนวทางเดียวกัน


คำถาม  :  ทาง LTO มีการจัดเจ้าหน้าที่เพื่อให้คำแนะนำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการ โดยแยกตามประเภทของธุรกิจหรือไม่

คำตอบ  :  LTO มีทีมกำกับดูแลแต่ละประเภทธุรกิจที่จะให้คำแนะนำได้


คำถาม  :  คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.113/2545 เน้นกิจการข้ามชาติเพราะอะไร จะใช้กับกิจการภายในประเทศ ได้หรือไม่

คำตอบ  :  เหตุผลที่เน้นกิจการข้ามชาติ เนื่องจากการกำหนดราคาโอนเป็นการถ่ายเทกำไรระหว่างกลุ่มกิจการที่เกี่ยวข้องกันจากประเทศที่มีอัตราภาษีสูงไปยังประเทศที่มีอัตราภาษีต่ำกว่า ทำให้เกิดการจัดสรรรายได้ภาษีระหว่างประเทศที่ไม่เป็นธรรม จะใช้คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.113/2545 กับกิจการในประเทศได้ หากเป็นการกำหนดราคาโอนเพื่อถ่ายเทกำไรระหว่างกลุ่มกิจการที่มีความสัมพันธ์กันจากกิจการที่มีกำไรสุทธิไปยังกิจการที่ขาดทุนหรือ มีกำไรแต่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล


คำถาม  :  เอกสาร 10 ข้อ บางข้อเป็นความลับของธุรกิจจะรั่วไหลหรือไม่ ใครจะรับผิดชอบ

คำตอบ  :  โดยปกติเจ้าหน้าที่จะถือว่าข้อมูลของผู้เสียภาษีเป็นความลับ ซึ่งไม่อาจเปิดเผยให้ใครทราบได้ หากเจ้าหน้าที่เป็นผู้เปิดเผย จะมีความผิดตามมาตรา 10 แห่งประมวลรัษฎากร


คำถาม  :  จะรู้ได้อย่างไรว่าราคาของบริษัทเป็นราคาโอน และราคาตลาดคือเท่าใด

คำตอบ  :  ราคาซื้อขายระหว่างกิจการที่มีความสัมพันธ์กันเมื่อเปรียบเทียบกับราคาซื้อขายระหว่างกิจการที่ไม่มีความสัมพันธ์กันแล้วแตกต่างกัน ถือว่ามีการกำหนดราคาโอนเกิดขึ้นแล้ว โดยถือราคาของกิจการที่ไม่มีความสัมพันธ์กันเป็นราคาตลาด


คำถาม  :  ความสัมพันธ์กันเป็นอย่างไร

คำตอบ  :  ไม่มีความสัมพันธ์กัน คือ เป็นอิสระต่อกัน ไม่มีอำนาจบังคับ จัดการ สั่งการ กำหนดนโยบายหรือกลยุทธ์ใดๆ ต่อกันได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ ในต้นทุนหรือการจัดการมีแต่การซื้อขายกันเท่านั้น ดังนั้น ความสัมพันธ์กันจะมีลักษณะตรงข้าม รูปแบบของความสัมพันธ์กันอาจไม่สามารถเห็นได้ในชั้นเดียวเพราะโครงสร้างองค์กรมีลักษณะซับซ้อน หรือเป็นความสัมพันธ์ทางอ้อม ผ่านหลายประเทศ


คำถาม  :  เลือกวิธีคำนวณราคาตลาดแล้ว กรมสรพากรจะยอมรับจริงหรือ และควรเลือกวิธีใด เลือกแล้วเปลี่ยนได้หรือไม่

คำตอบ  :  กรมสรรพากรจะยอมรับวิธีการคำนวณราคาตลาดที่เห็นว่าเหมาะสม ถูกต้อง มีเหตุผลและมีเอกสารหลักฐานสนับสนุนพอเพียง การจะเลือกวิธีการใด ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงของแต่ละกิจการ แต่ละปีจะเปลี่ยนวิธีการคำนวณตามเหตุผลและข้อเท็จจริงที่เปลี่ยนแปลงไปได้


คำถาม  :  ต้องทำเอกสารเป็นภาษาไทยหรือไม่

คำตอบ  :  หากเป็นภาษาอังกฤษ จะมีคำแปลเฉพาะส่วนที่เห็นว่าสำคัญก็ได้ แต่ถ้าเป็นภาษาต่างประเทศอื่น ต้องแปลเป็นภาษาไทย

 

 

ที่มา กรมสรรพากร

 

 

Tags:

No responses yet

ใส่ความเห็น